วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มอ-ระ-ดก

มรดก หมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดซึ่งผู้ตายหรือที่อาจเรียกกันว่าเจ้ามรดกมีอยู่ในขณะที่สิ้นชีวิต ยังหมายรวมถึงหนี้สินใดๆด้วย มรดกจักตกทอดไปสู่ทายาทโดยชอบธรรมของเจ้ามรดกทันทีที่เขาสิ้นชีวิตอันเป็นไปตามหลักกฎหมาย ณ ที่นี้จักกล่าวถึงสัดส่วนที่เหล่าทายาทของผู้ตายพึงได้รับตามหลักการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ถูกต้อง(ที่มา-วิกิพีเดีย)

การแบ่งมรดก

มีขึ้นเพื่อความสงบสุขของสังคมผู้ปกครองบ้านเมืองจึงออกกฎหมายมาจัดการแบ่งปันทรัพย์สินของเราแก่เหล่าทายาท อันได้แก่ คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย บุตรธิดา เป็นต้น หลายคนเข้าใจว่าทรัพย์สินทั้งหมดซึ่งเป็นชื่อของผู้ตายถือเป็นกรรมสิทธิ์ไว้ในเวลาที่สิ้นชีวิต จะต้องนำมาแบ่งสรรกันตามจำนวนทายาทของเขา

นั่นเป็นความเข้าใจซึ่งถูกเพียงส่วนเดียว

นอกจากทรัพย์สินแล้วยังรวมถึงหนี้สินของเจ้ามรดกซึ่งมีอยู่ก่อนตาย

ทายาทต้องรับไปด้วย แต่จะใช้หนี้แก่เจ้าหนี้เท่าที่ตนได้รับทรัพย์มรดกมาเท่านั้น

ตัวอย่างเช่น เจ้ามรดกมีหนี้สิน 100 บาท ทายาทรับมรดกมา 90 บาท เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จากทายาทแทนเจ้ามรดกเพียง 90 บาท ส่วนอีก 10 บาทตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้ไป ส่วนหลักการแบ่งปันทรัพย์สินของผู้ตายนั้นมีความซับซ้อนมากกว่าที่บุคคลธรรมดาคิดไว้นัก

ตัวอย่างให้คิดง่ายๆดังนี้คือ ผู้ตายหรือเจ้ามรดกมีทรัพย์สิน 100 บาท โดยมีทายาทตามกฎหมาย คือ ภรรยา (ที่จดทะเบียนสมรส) และ บุตรธิดารวม 2 คน ตอนนี้ก็มาถึงวิธีแบ่งปันทรัพย์มรดกจำนวน 100 บาท เริ่มต้นด้วยหลักกฎหมายกำหนดให้สินส่วนตัวของผู้ตายเท่านั้นที่เป็นทรัพย์มรดกซึ่งนำมาแบ่งกับทายาทได้ ทรัพย์สินของผู้ตาย ณ เวลาสิ้นชีวิตจำนวน 100 บาท

ถูกสันนิษฐานว่าเป็นสินสมรสซึ่งเป็นทรัพย์สินร่วมกันระหว่างสามีภรรยา จึงต้องมีการแบ่งกันก่อน โดยแต่ละฝ่ายจักได้สิทธิในเงินก้อนนี้ครึ่งหนึ่ง

นั่นหมายความว่าคู่สมรสของผู้ตายจักได้เงิน 50 บาทไปก่อนตามสิทธิอันพึงได้ตามกฎหมาย

จากนั้นเงิน 50 บาทที่เป็นของผู้ตายจะนำมาแบ่งปันกับเหล่าทายาทของเขาอันได้แก่ ภรรยา (ต้องมีทะเบียนสมรส) และบุตรธิดารวม 2 คน ตามที่ตัวอย่างระบุไว้ ณ จุดนี้กฎหมายกำหนดให้ทายาทแต่ละคนได้หนึ่งส่วน ดังนั้นเงิน 50 บาทของผู้ตายจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนเท่ากัน ซึ่งถือเป็นมรดกของทายาทที่พึงได้รับไป

เราจักสังเกตเห็นว่าภรรยานั้นดูจะได้สัดส่วนมาก นี่แหละคือ ประโยชน์ของภรรยาที่มีทะเบียนสมรสซึ่งสังคมพยายามรณรงค์ให้หญิงสาวพึงเรียกร้องจากผู้ชายที่คิดจะร่วมชีวิตด้วย สังคมคุ้มครองผู้อยู่ใต้กฎหมายเสมอ หวังว่าสตรีทั้งหลายพึงเรียกร้องและรักษาผลประโยชน์ที่สังคมมอบให้ท่าน กอปรกับได้เข้าใจถึงวิธีการแบ่งปันทรัพย์มรดกอย่างถูกต้องด้วย

...........................................................
จากตัวอย่างที่ยกมาให้อ่านด้านบนนี้ จะเห็นแล้วว่า การเป็นภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมายย่อมเป็นสิ่งที่ถูกต้องและดีที่สุดที่ผู้หญิงทุกคนต้องการ ไม่ได้จะหวังเพียงว่าหลังจากสามีตายแล้วจะได้สมบัติแต่อย่างใด  แต่เป็นสิ่งที่สังคม เห็นดีเห็นงามให้ปฎิบัติเพื่อความสงบสุข.....(หนุ่มๆอ่านแล้วปฏิบัติให้ได้นะคะ)

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

การให้โดยเสน่หา

การให้โดยเสน่หา เป็นการให้เปล่าโดยไม่มีค่าตอบแทน จัดเป็นนิติกรรมที่ผูกพันผู้ให้ฝ่ายเดียวที่ผู้ให้มิได้หวังประโยชน์ต่างตอบแทนจากการให้นั้น แต่ผู้ให้จะมีความเสน่หาเป็นพื้นฐานของการให้ก็ไม่ผิดธรรมเนียมประเพณี เช่น ผู้หญิงคนหนึ่งมอบแก้วแหวน เงินทอง ให้กับนักร้อง เพราะชื่นชอบหน้าตา และเสียงร้อง เป็นต้น

ในทางกฎหมายนั้นการให้โดยเสน่หาจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย อาจจำแนกเป็น 2 กรณี คือ

1. การให้ทรัพย์สินซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ เช่น รถยนต์ แหวนเพชร นาฬิกา จะสมบูรณ์เมื่อผู้ให้ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับ

2. ส่วนการให้ทรัพย์สินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น ที่ดิน อาคารบ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง อื่น ๆ จะสมบูรณ์เมื่อได้ทำเป็นหนังสือสัญญาและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
เมื่อการให้มีผลสมบูรณ์ทางกฎหมายแล้ว ผู้ให้จะเรียกทรัพย์สินนั้นคืนไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ที่

กฎหมายยอมให้ถอนคืนการ ให้ได้ คือ
1. ผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรง
2. ผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
3. ผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้ และผู้รับยังสามารถจะให้ความช่วยเหลือได้

---------------เสริมจ่ะ-------------------------
สำหรับในทางภาษีอากร โดยเฉพาะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การรับให้ซึ่ง เงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ใด ๆ ถือว่าผู้รับเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากการรับให้นั้น เว้นแต่กรณีต่อไปนี้
1. เป็นการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(10) แห่งประมวลรัษฎากร
2. การที่บิดามารดายกอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตนโดยไม่มีค่าตอบแทน แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม
---------------------------------------------
ให้โดยเสน่หาได้ แต่ก็ระวังเรื่องการเสียภาษีกันด้วยนะคะ....เดี๋ยวจะหาว่าไม่บอกกัน

สินสอดทองหมั้น


--------------------------------(ฝ่ายชายกล่าว)-----------------------------
อันของหมั้นนั้นต้องเป็นทรัพย์สิน     แก้ว แหวน เงินทอง ที่ดิน ที่พี่ให้
อีกทั้งรถยนต์ คอนโด ที่ผ่อนไว้       พี่ขอมอบให้ทรามวัยในวันนี้
ด้วยใจพักหมายจับจองซึ่งตัวน้อง    พี่ขอครองสมรสกับโฉมสี
อยู่ด้วยกันจนแก่เฒ่าลูกหลานมี        ตลอดปี ตลอดชาติไม่พรากกัน


ส่วนสินสอดพี่ให้แก่พ่อแม่                ที่ดูแลน้องของพี่จนเติบใหญ่
ให้พวกท่านสบายอก สบายใจ          มอบดวงใจให้พี่ไว้ดูแลแทน
--------------------------------------------------------------
หากฉันคือเจ้าสาวในกลอนบทนี้ หลายคนคงจะอิจฉาฉัน
แล้วถ้างานวิวาห์นี้ล่มล่ะ หัวใจฉันคงสลาย เพระแก้วแหวนเงินทอง
ที่ดินรถยนต์และคอนโด คงมลายหายสิ้นไป แล้วฉันจะต้องทำอย่างไร
-------------
(ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ ลักษณะ ๑ หมวด ๑ การหมั้น) มาใช้ในการวินิจฉัย

ของหมั้น ตามกฎหมายต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

1. ของหมั้นต้องเป็นทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นแก้ว แหวน เงินทอง รถยนต์ ไปจนถึงบ้าน คอนโด ที่ดิน และยังรวมไปถึงสิทธิต่างๆที่ตีมูลค่าเป็นเงินได้ก็เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่เป็นของหมั้นได้

2. ของหมั้นต้องเป็นสิ่งที่ฝ่ายชายได้ให้ไว้แก่ตัวหญิงเอง และหญิงได้รับของสิ่งนั้นไว้เอง แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ หญิงให้แก่ชาย หรือ หญิงให้แก่หญิง หรือ ชายให้กับชาย ในทางกฎหมายไม่อาจถือว่าของสิ่งนั้นเป็นของหมั้นแม้ผู้ให้และผู้รับเจตนาที่จะให้สิ่งของเหล่านั้นเป็นของหมั้นก็ตาม แต่ถือเป็นเพียงการให้โดยสเน่หาอย่างหนึ่งเท่านั้น

3. ของหมั้นต้องส่งมอบหรือโอนให้แก่หญิงในวันหมั้นโดยหญิงได้รับไว้หรือรับโอนทางทะเบียนในกรณีที่ของหมั้นเป็นทรัพย์สินที่ต้องจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นต้น หากเป็นเป็นเพียงสัญญาจะให้แต่ไม่มีการส่งมอบหรือโอนให้กันจริงในวันหมั้นทรัพย์สินเหล่านั้นไม่ถือเป็นของหมั้นตามกฎหมายและหญิงไม่อาจฟ้องเรียกให้ส่งมอบในภายหลังได้

4. ของหมั้นนั้นฝ่ายชายต้องให้แก่หญิงโดยมีเจตนาที่จะให้ของหมั้นนั้นเป็นหลักฐานว่าจะสมรสหญิงต่อไปซึ่งต้องมีเจตนาไปถึงขั้นที่ว่าจะจดทะเบียนสมรสด้วย มิใช่ประสงค์แต่เพียงจะจัดงานสมรสขึ้นในภายหลังเท่านั้น ทั้งของหมั้นนี้ต้องได้ให้ไว้ก่อนการจดทะเบียนสมรสด้วยมิเช่นนั้นแล้วของสิ่งนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นของหมั้นเป็นแต่เพียงการให้โดยสเน่หา

หากของสิ่งใดเข้าลักษณะเป็นของหมั้นดังกล่าวแล้วของสิ่งนั้นก็จะตกเป็นสิทธิแก่หญิงทันทีซึ่งฝ่ายชายอาจเรียกคืนได้เฉพาะในกรณีที่หญิงผิดสัญญาไม่สมรสด้วยเท่านั้น

ส่วนสินสอดนั้น ต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้

1. สินสอดต้องเป็นทรัพย์สินเช่นเดียวกับของหมั้น

2. สินสอดต้องเป็นสิ่งที่ฝ่ายชายให้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิงซึ่งมิได้ให้แก่ตัวหญิงเองอย่างของหมั้น เจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งไปที่ตัวพ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิง หากหญิงไม่มีตัวบุคคลดังกล่าวอยู่แล้วแม้จะมีการตกลงกันให้มอบทรัพย์สินนั้นแก่หญิงเองก็ไม่ทำให้ทรัพย์สินนั้นเป็นสินสอดไปได้ และสินสอดที่ตกลงให้กันนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องส่งมอบให้แก่ฝ่ายหญิงทันทีอย่างของหมั้นเพียงแต่ตกลงที่จะให้หรือจะนำมาให้ภายหลังก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสินสอดที่ทำให้ฝ่ายหญิงมีสิทธิเรียกร้องได้

3. สินสอดต้องเป็นทรัพย์สินที่ให้เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรสด้วยซึ่งต้องกินความถึงขนาดที่จะต้องมีการจดทะเบียนสมรสกันตามกฏหมาย แต่ไม่ใช่การให้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิงที่ให้ความยินยอมในกรณีที่หญิงยังเป็นผู้เยาว์

สินสอดเมื่อให้แล้วจะตกเป็นสิทธิของพ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิงทันทีแม้ชายหญิงจะยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันก็ตามเพียงแต่ฝ่ายชายอาจเรียกสินสอดคืนได้ถ้าการสมรสไม่มีขึ้นเพราะตัวหญิงเองเป็นต้นเหตุ หรือเป็นเหตุที่ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ซึ่งในกรณีนี้รวมไปถึงพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่เป็นเหตุให้ไม่มีการสมรสขึ้น ถึงอย่างไรก็ตามชายหญิงจะทำการหมั้น หรือการสมรสกันโดยไม่มีสินสอดก็ได้ เพียงแต่ว่าหากมีการตกลงให้สินสอดกันแล้ว พ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิงเท่านั้นมีสิทธิเรีนกเอาสินสอดดังกล่าวได้

การยกเลิกการหมั้น
- การหมั้นเป็นสิทธิเฉพาะตัวบุคคล จะใช้เป็นเงื่อนไข การให้ศาลบังคับ ให้มีการสมรสไม่ได้
- ถ้าหญิงเป็นผู้เเสียหาย ของหมั้นจะตกเป็นของหญิง แต่ไม่มีค่าตอบแทน
- ถ้าหญิงต้องได้รับความเสียหาย ทางทรัพย์สิน เนื่องจากการหมั้นแล้ว การหมั้นถูกยกเลิก ชายต้องเสียค่าทดแทนแก่ฝ่ายหญิง
- ถ้าหญิงตาย ต้องคืนของหมั้นแก่ฝ่ายชาย ถ้าชายตาย หญิงไม่ต้องคืนของหมั้น
- ถ้าชายเป็นผู้เสียหายเพราะหญิงยกเลิกการหมั้น หญิงต้องคืนของหมั้นแก่ชาย
- การฟ้องร้องค่าทดแทนในการหมั้นนั้น ผู้เสียหายต้องฟ้องภายในกำหนด 6 เดือน นับแต่วันผิดสัญญาหมั้น

--------------------------(ฝ่ายหญิงตอบ)------------------------------
อันน้องนั้นเห็นแก่พี่มีของหมั้น     ะผูกพันรักพี่ไม่หนีหาย
จนกว่าเราจะพรากจากกันตาย   และสุดท้ายน้องได้ทรัพย์ทั้งหมดเอย
----------------------------------------------------------------------------------

วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ถามว่า "จ้างแต่งงาน" เป็นสัญญาจ้างแรงงาน หรือจ้างทำของ ?

ก่อนจะหาคำตอบของชื่อเรื่องเรามาดูว่า
ข้อแตกต่าง ระหว่าง สัญญาจ้างแรงงาน กับ สัญญาจ้างทำของ มีอะไรบ้าง
สัญญาจ้างแรงงาน

1. คู่สัญญาเรียกว่า นายจ้าง กับ ลูกจ้าง
2. ลูกจ้างตกลงจะทำงานให้ตลอดไปจนกว่าจะเลิกจ้าง
3. ถือระยะเวลาที่ทำงานให้เป็นสำคัญ
4. นายจ้างต้องจ่ายสินจ้างหรือค่าจ้างให้ตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้
5. ลูกจ้างต้องทำงานตามคำสั่งของนายจ้างมีการควบคุมบังคับบัญชากันได้
6. ลูกจ้างไม่ต้องจัดหาเครื่องมือ หรือสัมภาระในการทำงาน เว้นแต่มีข้อตกลงพิเศษ
7. ลูกจ้างไม่ต้องส่งมอบงานที่ทำให้นายจ้างเพราะอยู่ในความควบคุมดูแลของนายจ้างอยู่แล้ว
8. นิติบุคคลเป็นนายจ้างได้ แต่เป็นลูกจ้างไม่ได้

สัญญาจ้างทำของ
1. คู่สัญญาเรียกว่า ผู้ว่าจ้าง กับ ผู้รับจ้าง
2. ผู้รับจ้างตกลงรับจะทำการงานให้จนงานนั้นสำเร็จ
3. ถือความสำเร็จของการงานเป็นสำคัญ
4. ผู้ว่าจ้างต้องจ่ายสินจ้างตามความสำเร็จของการงานที่ตกลงกัน
5. ผู้รับจ้างไม่ต้องทำงานตามคำสั่ง เพียงแต่ทำงานให้เสร็จเรียบร้อยตามสัญญาเท่านั้น
6. ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดการหกเครื่องมือสำหรับใช้ทำงานและบางครั้งอาจต้องหาสัมภาระด้วย
7. ผู้รับจ้างต้องส่งมอบการงานที่ทำให้ทันเวลาต่อผู้ว่าจ้าง
8. นิติบุคคลเป็นผู้ว่าจ้างได้และเป็นผู้รับจ้างได้

จากข้อมูลดังกล่าวเรามาลองดูกันว่า การจ้างแต่งงาน เข้าเกณฑ์สัญญาชนิดใด
การจ้างแต่งงาน
1. คู่สัญญาเรียกว่า สามี กับ ภรรยา
2. สามีตกลงจะทำงานให้ตลอดไปจนกว่าจะหย่า
3. ถือระยะเวลาที่ทำงานให้เป็นสำคัญ คือตลอดชีวิต (เพราะภรรยาไม่หย่า)
4. สามีต้องจ่ายสินจ้างหรือค่าจ้างให้ตลอดเวลาที่ภรรยาทำงานให้ (ค่าเลี้ยงดู)
5. ภรรยาต้องทำงานตามคำสั่งของสามี(ค่าตอบแทน)
6. ภรรยาไม่ต้องจัดหาเครื่องมือ หรือสัมภาระในการทำงาน เว้นแต่มีข้อตกลงพิเศษ
7. ภรรยาไม่ต้องส่งมอบงานที่ทำให้สามีเพราะอยู่ในความควบคุมดูแลของสามีอยู่แล้ว

สรุปการจ้างแต่งงานทำได้จริงหรือ ผิดกฎหมายหรือเปล่า ฝากผู้รู้หาคำตอบให้ด้วยนะ.....
ลองอ่านดูนะ "ข่าวจับสาวไทยจ้างมะกันแต่งงาน"

วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552

"ก่อนตาย"


ของขวัญที่สำคัญที่สุดของคุณคืออะไร? สำหรับเขา คือ...เธอ” หนังเรื่อง Happy Birthday (แฮปปี้เบิร์ธเดย์) เรื่องราวความรักของชายหนุ่มและหญิงสาวที่บุพเพสันนิวาส ชักนำให้พวกเขาได้มารู้จักกันผ่านตัวหนังสือ ในหนังสือท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยข้อความที่ถูกเขียนส่งต่อให้กันและกัน โดยที่พวกเขาไม่เคยพบหน้ากัน …แต่มันได้กลายเป็นสื่อกลางที่ทำให้ความรู้สึกผูกพันเกิดขึ้นในใจของทั้ง 2 คน เรื่องราวระหว่างพวกเขาดูเหมือนจะไปได้ดี กระทั่งมาถึงวันครบรอบวันเกิดของหญิงสาว ซึ่งเตรียมหาของขวัญมาให้ แต่มีเหตุการณ์บางอย่างทำให้ของขวัญชิ้นนั้นไม่ถึงมือชายหนุ่ม อุบัติเหตุที่ทำให้หญิงสาวกลายเป็นเจ้าหญิงนิทรา ด้วยคำมั่นที่ทั้งคู่สัญญาว่าจะดูแลกันตลอดไป ชายหนุ่มคอยดูแลหญิงสาวด้วยความรัก พูดคุยด้วย พาไปเที่ยวทุกๆที่ อาบน้ำให้เธอ แม้ว่าร่างกายของหญิงสาวจะไม่รับรู้ก็ตาม จนพ่อแม่ของหญิงสาวสงสารลูกมากอยากให้ลูกจากไปโดยสงบจึงร้องขอต่อศาล แต่ชายหนุ่มไม่ยอมพยายามทำทุกอย่างเพื่อได้ดูแลเธอต่อไป เพราะสำหรับเขาเธอคือของขวัญที่มีค่าที่สุด (ดูหนังตัวอย่าง)


เราทุกคนในโลกนี้ที่เกิดมา ต่างก็รู้ว่า ณ วันหนึ่ง เราก็ต้องตาย แต่จะเป็นเมื่อไหร่ วันไหน ที่ไหนนั้น ไม่อาจจะรู้ได้ แต่ถ้าเรารู้ล่ะว่าเราจะตายเมื่อไร คุณจะทำอย่างไร คุณจะขอตายโดยสงบ คุณจะให้แพทย์บอกว่าคุณกำลังจะตาย หรือว่า คุณจะให้คนที่คุณรักทรมารเพราะเห็นคุณตาย คุณมีสิทธิที่จะเลือก แล้วสังคมล่ะจะให้คุณเลือกไหม๊ ก็เป็นปัญหาที่ถกเถียงกันทุกวงการ ไม่ว่าทางการแพทย์ หรือ นักกฏหมาย ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการตายโดยสงบ โดย นันทน อินทนนท์ ให้แง่คิดที่น่าสนใจไว้หลายประเด็น

ในความคิดส่วนตัวของผู้เขียนเองมองว่า "ก่อนตาย" ผู้เขียนจะสร้างคุณงามความดี ทำสิ่งที่อยากทำ ใช้ชีวิตให้คุ้มค่า ทุกเวลา กับ ครอบครัว และคนที่อยู่รอบข้าง ให้มีความสุขที่สุด เพราะเมื่อตายไปแล้วจะได้ไม่เสียใจในสิ่งที่ทำไป แล้วพวกคุณล่ะ "ก่อนตาย" พวกคุณจะทำอะไร...

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใครๆก็เรียกฉันว่า "..."

------------------------------------------------------------------------
เมื่อครั้งฉันยังเป็นเด็ก ใครๆก็เรียกฉันว่า
"หนู"
พอโตมาหน่อยฉันเข้าโรงรียน
คุณครูก็เรียกฉันว่า
"เด็กหญิง"
เมื่อฉันอายุได้ 15 ปี ไปทำบัตนประชาชน ทุกคนก็เรียกฉันว่า

"นางสาว"
และแล้วเมื่อฉันแต่งงานจดทะเบียนสมรส
ใครๆก็เรียกฉันว่า
"นาง"
นั่นคือคำนำ
หน้าชื่อที่ทุกคนใช้เรียกฉัน
แล้วทำไมไม่มีใครถามฉันบ้างว่า
ฉันอยากให้ใครๆเรียกฉันว่าอย่างไร..

----------------------------------------------------------------------------------------
ฉันก็แค่อยากให้ทุกคนให้ความสำคัญของชื่อฉันมากกว่า จำชื่อฉันให้ได้ เรียกชื่อฉันให้ถูก แพราะเมื่อตอนที่ฉันยังเด็กวิ่งเล่นกับเพื่อนๆอยู่แถวบ้าน จำได้ว่ามีป้าคนนึงเดินเข้ามาถามทางไปสถานีอนามัย ป้าแกเรียกฉัน “หนูจ๊ะ อนามัยไปทางไหน” หนูอย่างฉันรวมถึงเพื่อนๆหนูของฉันหันไปตอบป้าแกทันใดโดยไม่ได้นัดกัน เพราะตอนฉันยังเด็ก ฉันก็ได้ยินใครๆ เรียกเด็กๆว่า “หนู” แทน ชื่อเด็กกัน แต่เด็กคนนั้นจะรู้ได้อย่างไรว่าเรียกเด็กคนไหนกัน ดังนั้นฉันจึงได้เห็นว่าเด็กหันกันมาเป็นสิบคน ไม่ว่าเด็กหญิงหรือเด็กชาย ไม่รู้เรียกหนูคนไหนกันแน่
พอโตมาหน่อยฉันเข้าโรงเรียน ในวันแรกที่มีเช็คชื่อนักเรียน คุณครูก็เรียกฉันว่า “เด็กหญิง” และเรียกเพื่อนๆฉันว่า “เด็กชาย” แล้วตามด้วยชื่อ-สกุล เรียงตามลำดับตัวอักษร ฉันเลยเป็นเด็กคนเกือบสุดท้ายที่คุณครูเรียกฉันว่า “เด็กหญิง........” และฉันก็รีบตอบ “มาค่ะ”
เมื่อฉันอายุได้ 15 ปีก็ต้องไปทำบัตรประชาชนซึ่งกฏหมายก็กำหนดมาอย่างนั้น รอฉันอายุสัก 18 ปีแล้วค่อยไปทำก็ไม่ได้ แล้วทุกคนก็เรียกฉันว่า “นางสาว” จากเด็กหญิงกลายมาเป็นนางสาวนั่นทำให้ฉันรู้ว่า ฉันไม่ใช่เด็กแล้วนะ ฉันโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว
ฉันเป็นางสาวอยู่หลายปีจนฉันแต่งงานจดทะเบียนสมรส ฉันได้เปลี่ยนคำนำหน้าใหม่ จาก “นางสาว” เป็น “นาง” นั่นทำให้ให้ใครๆรู้ว่าฉันแต่งงานแล้วนะ ฉันไม่ใช่สาวโสดอีก
แล้วจะแตกต่างหรือแปลกอะไรล่ะ ที่กฎหมายใหม่อนุญาตให้เปลี่ยนคำนำหน้าของคนที่แต่งงานแล้วหย่า ที่ใช้ “นาง” สามารถกลับมาเป็น “นางสาว” ได้อีก เพราะจริงๆ แล้วความเป็นจริงต่างหากที่ทุกคนต้องยอมรับว่า ชีวิตฉันผ่านอะไรมาบ้าง
นั่นจะสำคัญอะไร ไม่ว่าจะ “หนู” “เด็กหญิง” “นางสาว” หรือว่า เป็น “นาง” นั่นคือคำนำหน้าชื่อที่ทุกคนใช้เรียกฉัน แล้วทำไมไม่มีใครถามฉันบ้างว่าฉันอยากให้ใครๆเรียกฉันว่าอย่างไร
ใครจะเรียกฉันว่าอะไรก็ตาม ฉันมีสิทธิที่เท่าเทียมกันกับทุกคน ฉันไม่สนว่าใครจะเรียกฉันว่า “หนู”, “เด็กหญิง”, “นางสาว” หรือว่า “นาง” สุดท้าย ฉันจะให้ทุกคนเรียกฉันว่า .....