วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

การให้โดยเสน่หา

การให้โดยเสน่หา เป็นการให้เปล่าโดยไม่มีค่าตอบแทน จัดเป็นนิติกรรมที่ผูกพันผู้ให้ฝ่ายเดียวที่ผู้ให้มิได้หวังประโยชน์ต่างตอบแทนจากการให้นั้น แต่ผู้ให้จะมีความเสน่หาเป็นพื้นฐานของการให้ก็ไม่ผิดธรรมเนียมประเพณี เช่น ผู้หญิงคนหนึ่งมอบแก้วแหวน เงินทอง ให้กับนักร้อง เพราะชื่นชอบหน้าตา และเสียงร้อง เป็นต้น

ในทางกฎหมายนั้นการให้โดยเสน่หาจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย อาจจำแนกเป็น 2 กรณี คือ

1. การให้ทรัพย์สินซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ เช่น รถยนต์ แหวนเพชร นาฬิกา จะสมบูรณ์เมื่อผู้ให้ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับ

2. ส่วนการให้ทรัพย์สินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น ที่ดิน อาคารบ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง อื่น ๆ จะสมบูรณ์เมื่อได้ทำเป็นหนังสือสัญญาและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
เมื่อการให้มีผลสมบูรณ์ทางกฎหมายแล้ว ผู้ให้จะเรียกทรัพย์สินนั้นคืนไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ที่

กฎหมายยอมให้ถอนคืนการ ให้ได้ คือ
1. ผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรง
2. ผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
3. ผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้ และผู้รับยังสามารถจะให้ความช่วยเหลือได้

---------------เสริมจ่ะ-------------------------
สำหรับในทางภาษีอากร โดยเฉพาะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การรับให้ซึ่ง เงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ใด ๆ ถือว่าผู้รับเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากการรับให้นั้น เว้นแต่กรณีต่อไปนี้
1. เป็นการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(10) แห่งประมวลรัษฎากร
2. การที่บิดามารดายกอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตนโดยไม่มีค่าตอบแทน แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม
---------------------------------------------
ให้โดยเสน่หาได้ แต่ก็ระวังเรื่องการเสียภาษีกันด้วยนะคะ....เดี๋ยวจะหาว่าไม่บอกกัน

สินสอดทองหมั้น


--------------------------------(ฝ่ายชายกล่าว)-----------------------------
อันของหมั้นนั้นต้องเป็นทรัพย์สิน     แก้ว แหวน เงินทอง ที่ดิน ที่พี่ให้
อีกทั้งรถยนต์ คอนโด ที่ผ่อนไว้       พี่ขอมอบให้ทรามวัยในวันนี้
ด้วยใจพักหมายจับจองซึ่งตัวน้อง    พี่ขอครองสมรสกับโฉมสี
อยู่ด้วยกันจนแก่เฒ่าลูกหลานมี        ตลอดปี ตลอดชาติไม่พรากกัน


ส่วนสินสอดพี่ให้แก่พ่อแม่                ที่ดูแลน้องของพี่จนเติบใหญ่
ให้พวกท่านสบายอก สบายใจ          มอบดวงใจให้พี่ไว้ดูแลแทน
--------------------------------------------------------------
หากฉันคือเจ้าสาวในกลอนบทนี้ หลายคนคงจะอิจฉาฉัน
แล้วถ้างานวิวาห์นี้ล่มล่ะ หัวใจฉันคงสลาย เพระแก้วแหวนเงินทอง
ที่ดินรถยนต์และคอนโด คงมลายหายสิ้นไป แล้วฉันจะต้องทำอย่างไร
-------------
(ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ ลักษณะ ๑ หมวด ๑ การหมั้น) มาใช้ในการวินิจฉัย

ของหมั้น ตามกฎหมายต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

1. ของหมั้นต้องเป็นทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นแก้ว แหวน เงินทอง รถยนต์ ไปจนถึงบ้าน คอนโด ที่ดิน และยังรวมไปถึงสิทธิต่างๆที่ตีมูลค่าเป็นเงินได้ก็เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่เป็นของหมั้นได้

2. ของหมั้นต้องเป็นสิ่งที่ฝ่ายชายได้ให้ไว้แก่ตัวหญิงเอง และหญิงได้รับของสิ่งนั้นไว้เอง แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ หญิงให้แก่ชาย หรือ หญิงให้แก่หญิง หรือ ชายให้กับชาย ในทางกฎหมายไม่อาจถือว่าของสิ่งนั้นเป็นของหมั้นแม้ผู้ให้และผู้รับเจตนาที่จะให้สิ่งของเหล่านั้นเป็นของหมั้นก็ตาม แต่ถือเป็นเพียงการให้โดยสเน่หาอย่างหนึ่งเท่านั้น

3. ของหมั้นต้องส่งมอบหรือโอนให้แก่หญิงในวันหมั้นโดยหญิงได้รับไว้หรือรับโอนทางทะเบียนในกรณีที่ของหมั้นเป็นทรัพย์สินที่ต้องจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นต้น หากเป็นเป็นเพียงสัญญาจะให้แต่ไม่มีการส่งมอบหรือโอนให้กันจริงในวันหมั้นทรัพย์สินเหล่านั้นไม่ถือเป็นของหมั้นตามกฎหมายและหญิงไม่อาจฟ้องเรียกให้ส่งมอบในภายหลังได้

4. ของหมั้นนั้นฝ่ายชายต้องให้แก่หญิงโดยมีเจตนาที่จะให้ของหมั้นนั้นเป็นหลักฐานว่าจะสมรสหญิงต่อไปซึ่งต้องมีเจตนาไปถึงขั้นที่ว่าจะจดทะเบียนสมรสด้วย มิใช่ประสงค์แต่เพียงจะจัดงานสมรสขึ้นในภายหลังเท่านั้น ทั้งของหมั้นนี้ต้องได้ให้ไว้ก่อนการจดทะเบียนสมรสด้วยมิเช่นนั้นแล้วของสิ่งนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นของหมั้นเป็นแต่เพียงการให้โดยสเน่หา

หากของสิ่งใดเข้าลักษณะเป็นของหมั้นดังกล่าวแล้วของสิ่งนั้นก็จะตกเป็นสิทธิแก่หญิงทันทีซึ่งฝ่ายชายอาจเรียกคืนได้เฉพาะในกรณีที่หญิงผิดสัญญาไม่สมรสด้วยเท่านั้น

ส่วนสินสอดนั้น ต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้

1. สินสอดต้องเป็นทรัพย์สินเช่นเดียวกับของหมั้น

2. สินสอดต้องเป็นสิ่งที่ฝ่ายชายให้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิงซึ่งมิได้ให้แก่ตัวหญิงเองอย่างของหมั้น เจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งไปที่ตัวพ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิง หากหญิงไม่มีตัวบุคคลดังกล่าวอยู่แล้วแม้จะมีการตกลงกันให้มอบทรัพย์สินนั้นแก่หญิงเองก็ไม่ทำให้ทรัพย์สินนั้นเป็นสินสอดไปได้ และสินสอดที่ตกลงให้กันนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องส่งมอบให้แก่ฝ่ายหญิงทันทีอย่างของหมั้นเพียงแต่ตกลงที่จะให้หรือจะนำมาให้ภายหลังก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสินสอดที่ทำให้ฝ่ายหญิงมีสิทธิเรียกร้องได้

3. สินสอดต้องเป็นทรัพย์สินที่ให้เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรสด้วยซึ่งต้องกินความถึงขนาดที่จะต้องมีการจดทะเบียนสมรสกันตามกฏหมาย แต่ไม่ใช่การให้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิงที่ให้ความยินยอมในกรณีที่หญิงยังเป็นผู้เยาว์

สินสอดเมื่อให้แล้วจะตกเป็นสิทธิของพ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิงทันทีแม้ชายหญิงจะยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันก็ตามเพียงแต่ฝ่ายชายอาจเรียกสินสอดคืนได้ถ้าการสมรสไม่มีขึ้นเพราะตัวหญิงเองเป็นต้นเหตุ หรือเป็นเหตุที่ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ซึ่งในกรณีนี้รวมไปถึงพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่เป็นเหตุให้ไม่มีการสมรสขึ้น ถึงอย่างไรก็ตามชายหญิงจะทำการหมั้น หรือการสมรสกันโดยไม่มีสินสอดก็ได้ เพียงแต่ว่าหากมีการตกลงให้สินสอดกันแล้ว พ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิงเท่านั้นมีสิทธิเรีนกเอาสินสอดดังกล่าวได้

การยกเลิกการหมั้น
- การหมั้นเป็นสิทธิเฉพาะตัวบุคคล จะใช้เป็นเงื่อนไข การให้ศาลบังคับ ให้มีการสมรสไม่ได้
- ถ้าหญิงเป็นผู้เเสียหาย ของหมั้นจะตกเป็นของหญิง แต่ไม่มีค่าตอบแทน
- ถ้าหญิงต้องได้รับความเสียหาย ทางทรัพย์สิน เนื่องจากการหมั้นแล้ว การหมั้นถูกยกเลิก ชายต้องเสียค่าทดแทนแก่ฝ่ายหญิง
- ถ้าหญิงตาย ต้องคืนของหมั้นแก่ฝ่ายชาย ถ้าชายตาย หญิงไม่ต้องคืนของหมั้น
- ถ้าชายเป็นผู้เสียหายเพราะหญิงยกเลิกการหมั้น หญิงต้องคืนของหมั้นแก่ชาย
- การฟ้องร้องค่าทดแทนในการหมั้นนั้น ผู้เสียหายต้องฟ้องภายในกำหนด 6 เดือน นับแต่วันผิดสัญญาหมั้น

--------------------------(ฝ่ายหญิงตอบ)------------------------------
อันน้องนั้นเห็นแก่พี่มีของหมั้น     ะผูกพันรักพี่ไม่หนีหาย
จนกว่าเราจะพรากจากกันตาย   และสุดท้ายน้องได้ทรัพย์ทั้งหมดเอย
----------------------------------------------------------------------------------