วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ถามว่า "จ้างแต่งงาน" เป็นสัญญาจ้างแรงงาน หรือจ้างทำของ ?

ก่อนจะหาคำตอบของชื่อเรื่องเรามาดูว่า
ข้อแตกต่าง ระหว่าง สัญญาจ้างแรงงาน กับ สัญญาจ้างทำของ มีอะไรบ้าง
สัญญาจ้างแรงงาน

1. คู่สัญญาเรียกว่า นายจ้าง กับ ลูกจ้าง
2. ลูกจ้างตกลงจะทำงานให้ตลอดไปจนกว่าจะเลิกจ้าง
3. ถือระยะเวลาที่ทำงานให้เป็นสำคัญ
4. นายจ้างต้องจ่ายสินจ้างหรือค่าจ้างให้ตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้
5. ลูกจ้างต้องทำงานตามคำสั่งของนายจ้างมีการควบคุมบังคับบัญชากันได้
6. ลูกจ้างไม่ต้องจัดหาเครื่องมือ หรือสัมภาระในการทำงาน เว้นแต่มีข้อตกลงพิเศษ
7. ลูกจ้างไม่ต้องส่งมอบงานที่ทำให้นายจ้างเพราะอยู่ในความควบคุมดูแลของนายจ้างอยู่แล้ว
8. นิติบุคคลเป็นนายจ้างได้ แต่เป็นลูกจ้างไม่ได้

สัญญาจ้างทำของ
1. คู่สัญญาเรียกว่า ผู้ว่าจ้าง กับ ผู้รับจ้าง
2. ผู้รับจ้างตกลงรับจะทำการงานให้จนงานนั้นสำเร็จ
3. ถือความสำเร็จของการงานเป็นสำคัญ
4. ผู้ว่าจ้างต้องจ่ายสินจ้างตามความสำเร็จของการงานที่ตกลงกัน
5. ผู้รับจ้างไม่ต้องทำงานตามคำสั่ง เพียงแต่ทำงานให้เสร็จเรียบร้อยตามสัญญาเท่านั้น
6. ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดการหกเครื่องมือสำหรับใช้ทำงานและบางครั้งอาจต้องหาสัมภาระด้วย
7. ผู้รับจ้างต้องส่งมอบการงานที่ทำให้ทันเวลาต่อผู้ว่าจ้าง
8. นิติบุคคลเป็นผู้ว่าจ้างได้และเป็นผู้รับจ้างได้

จากข้อมูลดังกล่าวเรามาลองดูกันว่า การจ้างแต่งงาน เข้าเกณฑ์สัญญาชนิดใด
การจ้างแต่งงาน
1. คู่สัญญาเรียกว่า สามี กับ ภรรยา
2. สามีตกลงจะทำงานให้ตลอดไปจนกว่าจะหย่า
3. ถือระยะเวลาที่ทำงานให้เป็นสำคัญ คือตลอดชีวิต (เพราะภรรยาไม่หย่า)
4. สามีต้องจ่ายสินจ้างหรือค่าจ้างให้ตลอดเวลาที่ภรรยาทำงานให้ (ค่าเลี้ยงดู)
5. ภรรยาต้องทำงานตามคำสั่งของสามี(ค่าตอบแทน)
6. ภรรยาไม่ต้องจัดหาเครื่องมือ หรือสัมภาระในการทำงาน เว้นแต่มีข้อตกลงพิเศษ
7. ภรรยาไม่ต้องส่งมอบงานที่ทำให้สามีเพราะอยู่ในความควบคุมดูแลของสามีอยู่แล้ว

สรุปการจ้างแต่งงานทำได้จริงหรือ ผิดกฎหมายหรือเปล่า ฝากผู้รู้หาคำตอบให้ด้วยนะ.....
ลองอ่านดูนะ "ข่าวจับสาวไทยจ้างมะกันแต่งงาน"

วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552

"ก่อนตาย"


ของขวัญที่สำคัญที่สุดของคุณคืออะไร? สำหรับเขา คือ...เธอ” หนังเรื่อง Happy Birthday (แฮปปี้เบิร์ธเดย์) เรื่องราวความรักของชายหนุ่มและหญิงสาวที่บุพเพสันนิวาส ชักนำให้พวกเขาได้มารู้จักกันผ่านตัวหนังสือ ในหนังสือท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยข้อความที่ถูกเขียนส่งต่อให้กันและกัน โดยที่พวกเขาไม่เคยพบหน้ากัน …แต่มันได้กลายเป็นสื่อกลางที่ทำให้ความรู้สึกผูกพันเกิดขึ้นในใจของทั้ง 2 คน เรื่องราวระหว่างพวกเขาดูเหมือนจะไปได้ดี กระทั่งมาถึงวันครบรอบวันเกิดของหญิงสาว ซึ่งเตรียมหาของขวัญมาให้ แต่มีเหตุการณ์บางอย่างทำให้ของขวัญชิ้นนั้นไม่ถึงมือชายหนุ่ม อุบัติเหตุที่ทำให้หญิงสาวกลายเป็นเจ้าหญิงนิทรา ด้วยคำมั่นที่ทั้งคู่สัญญาว่าจะดูแลกันตลอดไป ชายหนุ่มคอยดูแลหญิงสาวด้วยความรัก พูดคุยด้วย พาไปเที่ยวทุกๆที่ อาบน้ำให้เธอ แม้ว่าร่างกายของหญิงสาวจะไม่รับรู้ก็ตาม จนพ่อแม่ของหญิงสาวสงสารลูกมากอยากให้ลูกจากไปโดยสงบจึงร้องขอต่อศาล แต่ชายหนุ่มไม่ยอมพยายามทำทุกอย่างเพื่อได้ดูแลเธอต่อไป เพราะสำหรับเขาเธอคือของขวัญที่มีค่าที่สุด (ดูหนังตัวอย่าง)


เราทุกคนในโลกนี้ที่เกิดมา ต่างก็รู้ว่า ณ วันหนึ่ง เราก็ต้องตาย แต่จะเป็นเมื่อไหร่ วันไหน ที่ไหนนั้น ไม่อาจจะรู้ได้ แต่ถ้าเรารู้ล่ะว่าเราจะตายเมื่อไร คุณจะทำอย่างไร คุณจะขอตายโดยสงบ คุณจะให้แพทย์บอกว่าคุณกำลังจะตาย หรือว่า คุณจะให้คนที่คุณรักทรมารเพราะเห็นคุณตาย คุณมีสิทธิที่จะเลือก แล้วสังคมล่ะจะให้คุณเลือกไหม๊ ก็เป็นปัญหาที่ถกเถียงกันทุกวงการ ไม่ว่าทางการแพทย์ หรือ นักกฏหมาย ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการตายโดยสงบ โดย นันทน อินทนนท์ ให้แง่คิดที่น่าสนใจไว้หลายประเด็น

ในความคิดส่วนตัวของผู้เขียนเองมองว่า "ก่อนตาย" ผู้เขียนจะสร้างคุณงามความดี ทำสิ่งที่อยากทำ ใช้ชีวิตให้คุ้มค่า ทุกเวลา กับ ครอบครัว และคนที่อยู่รอบข้าง ให้มีความสุขที่สุด เพราะเมื่อตายไปแล้วจะได้ไม่เสียใจในสิ่งที่ทำไป แล้วพวกคุณล่ะ "ก่อนตาย" พวกคุณจะทำอะไร...

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใครๆก็เรียกฉันว่า "..."

------------------------------------------------------------------------
เมื่อครั้งฉันยังเป็นเด็ก ใครๆก็เรียกฉันว่า
"หนู"
พอโตมาหน่อยฉันเข้าโรงรียน
คุณครูก็เรียกฉันว่า
"เด็กหญิง"
เมื่อฉันอายุได้ 15 ปี ไปทำบัตนประชาชน ทุกคนก็เรียกฉันว่า

"นางสาว"
และแล้วเมื่อฉันแต่งงานจดทะเบียนสมรส
ใครๆก็เรียกฉันว่า
"นาง"
นั่นคือคำนำ
หน้าชื่อที่ทุกคนใช้เรียกฉัน
แล้วทำไมไม่มีใครถามฉันบ้างว่า
ฉันอยากให้ใครๆเรียกฉันว่าอย่างไร..

----------------------------------------------------------------------------------------
ฉันก็แค่อยากให้ทุกคนให้ความสำคัญของชื่อฉันมากกว่า จำชื่อฉันให้ได้ เรียกชื่อฉันให้ถูก แพราะเมื่อตอนที่ฉันยังเด็กวิ่งเล่นกับเพื่อนๆอยู่แถวบ้าน จำได้ว่ามีป้าคนนึงเดินเข้ามาถามทางไปสถานีอนามัย ป้าแกเรียกฉัน “หนูจ๊ะ อนามัยไปทางไหน” หนูอย่างฉันรวมถึงเพื่อนๆหนูของฉันหันไปตอบป้าแกทันใดโดยไม่ได้นัดกัน เพราะตอนฉันยังเด็ก ฉันก็ได้ยินใครๆ เรียกเด็กๆว่า “หนู” แทน ชื่อเด็กกัน แต่เด็กคนนั้นจะรู้ได้อย่างไรว่าเรียกเด็กคนไหนกัน ดังนั้นฉันจึงได้เห็นว่าเด็กหันกันมาเป็นสิบคน ไม่ว่าเด็กหญิงหรือเด็กชาย ไม่รู้เรียกหนูคนไหนกันแน่
พอโตมาหน่อยฉันเข้าโรงเรียน ในวันแรกที่มีเช็คชื่อนักเรียน คุณครูก็เรียกฉันว่า “เด็กหญิง” และเรียกเพื่อนๆฉันว่า “เด็กชาย” แล้วตามด้วยชื่อ-สกุล เรียงตามลำดับตัวอักษร ฉันเลยเป็นเด็กคนเกือบสุดท้ายที่คุณครูเรียกฉันว่า “เด็กหญิง........” และฉันก็รีบตอบ “มาค่ะ”
เมื่อฉันอายุได้ 15 ปีก็ต้องไปทำบัตรประชาชนซึ่งกฏหมายก็กำหนดมาอย่างนั้น รอฉันอายุสัก 18 ปีแล้วค่อยไปทำก็ไม่ได้ แล้วทุกคนก็เรียกฉันว่า “นางสาว” จากเด็กหญิงกลายมาเป็นนางสาวนั่นทำให้ฉันรู้ว่า ฉันไม่ใช่เด็กแล้วนะ ฉันโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว
ฉันเป็นางสาวอยู่หลายปีจนฉันแต่งงานจดทะเบียนสมรส ฉันได้เปลี่ยนคำนำหน้าใหม่ จาก “นางสาว” เป็น “นาง” นั่นทำให้ให้ใครๆรู้ว่าฉันแต่งงานแล้วนะ ฉันไม่ใช่สาวโสดอีก
แล้วจะแตกต่างหรือแปลกอะไรล่ะ ที่กฎหมายใหม่อนุญาตให้เปลี่ยนคำนำหน้าของคนที่แต่งงานแล้วหย่า ที่ใช้ “นาง” สามารถกลับมาเป็น “นางสาว” ได้อีก เพราะจริงๆ แล้วความเป็นจริงต่างหากที่ทุกคนต้องยอมรับว่า ชีวิตฉันผ่านอะไรมาบ้าง
นั่นจะสำคัญอะไร ไม่ว่าจะ “หนู” “เด็กหญิง” “นางสาว” หรือว่า เป็น “นาง” นั่นคือคำนำหน้าชื่อที่ทุกคนใช้เรียกฉัน แล้วทำไมไม่มีใครถามฉันบ้างว่าฉันอยากให้ใครๆเรียกฉันว่าอย่างไร
ใครจะเรียกฉันว่าอะไรก็ตาม ฉันมีสิทธิที่เท่าเทียมกันกับทุกคน ฉันไม่สนว่าใครจะเรียกฉันว่า “หนู”, “เด็กหญิง”, “นางสาว” หรือว่า “นาง” สุดท้าย ฉันจะให้ทุกคนเรียกฉันว่า .....

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วิเคราะห์ธุรกิจโรงแรมว่ามีกฏหมายใดบ้างที่นำมาเกี่ยวข้อง

กฏหมายที่นำมาเกี่ยวข้องกับธุรกิจโรงแรม
๑.พรบ.โรงแรม
๒.พรบ.ควบคุมอาคาร+ตรวจสอบอาคาร
๓.พรบ.คุ้มครองแรงงาน+ประกันสังคม
๔.พรบ.คนเข้าเมือง
๕.พรบ.ธุรกิจนำเที่ยว(เอเย่น)
๖.เครื่องหมายการค้า+ทะเบียนพาณิชย์
๗.ภาษีอากร+ภาษีมูลค่าเพิ่ม+ภาษีป้าย+ภาษีสรรพสามิต
๘.พรบ.ลิขสิทธิ์
๙.กฏหมายอนามัยสิ่งแวดล้อม
๑๐.กฏหมายว่าด้วยการป้องกันอัคคีภัย
๑๑.พรบ.คอมพิวเตอร์
๑๒.กฏหมายธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิค

อาจจะมีกฏหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกเพิ่มเติมมากกว่านี้ ไว้จะหามาอัพเดทเพิ่มเติมค่ะ หากใครทราบก็ช่วยเข้ามาเพิ่มเติมให้ด้วยนะคะ

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ซื้อขาย-ขายฝาก

- สัญญาจะเกิดขึ้นเมื่อเสนอกับสนองตรงกัน

-ทรัพย์นอกพานิชย์ไม่สามารถเอามาขายได้ เช่น อวกาศ, ท้องฟ้า, ดวงดาว

- เซ้ง คือ การเช่าระยะยาวโดยให้เงินก้อนใหญ่เพื่อประกันการเช่า

- สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ สัตว์พาหนะ (ช้าง ม้า โค กระบือ ลา ล่อ ต้องทำตั๋วรูปพรรณตามกฎหมาย)

- โมฆะ คือการกำหนดแบบแล้วไม่ทำตามแบบ

- โมฆียะ คือสัญญาที่บกพร่อง เนื่องจาก ผู้ทำสัญญายังไม่บรรลุนิติภาวะ ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมไม่เห็นด้วยมีอำนาจบอกล้างได้ สัญญาจะเปลี่ยนจาก โมฆียะเป็นโมฆะ หากผู้แทนโดยชอบธรรมยินยอม สัญญาเปลี่ยนจากโมฆียะเป็นการให้สัตยาบัน

Portfolio


ชื่อ-สกุล : สุภาวดี มหาทรัพย์สาคร
ชื่อเล่น : จิ๊บ
ภูมิลำเนา : เป็นคนจังหวัดชุมพร
ประวัติส่วนตัว : เป็นผู้หญิงที่อารมณ์ดี
--------------สนุกสนาน
--------------เข้ากับคนอื่นได้ง่าย
--------------และชอบสีม่วง

จบการศึกษาระดับ : ปริญญาตรีคณะวิทยาการจัดการบริหารธุรกิจ
-------------------เอกคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ปัจจุบันศึกษาระดับ : ปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
-------------------มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต

-------------------ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552