วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

การให้โดยเสน่หา

การให้โดยเสน่หา เป็นการให้เปล่าโดยไม่มีค่าตอบแทน จัดเป็นนิติกรรมที่ผูกพันผู้ให้ฝ่ายเดียวที่ผู้ให้มิได้หวังประโยชน์ต่างตอบแทนจากการให้นั้น แต่ผู้ให้จะมีความเสน่หาเป็นพื้นฐานของการให้ก็ไม่ผิดธรรมเนียมประเพณี เช่น ผู้หญิงคนหนึ่งมอบแก้วแหวน เงินทอง ให้กับนักร้อง เพราะชื่นชอบหน้าตา และเสียงร้อง เป็นต้น

ในทางกฎหมายนั้นการให้โดยเสน่หาจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย อาจจำแนกเป็น 2 กรณี คือ

1. การให้ทรัพย์สินซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ เช่น รถยนต์ แหวนเพชร นาฬิกา จะสมบูรณ์เมื่อผู้ให้ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับ

2. ส่วนการให้ทรัพย์สินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น ที่ดิน อาคารบ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง อื่น ๆ จะสมบูรณ์เมื่อได้ทำเป็นหนังสือสัญญาและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
เมื่อการให้มีผลสมบูรณ์ทางกฎหมายแล้ว ผู้ให้จะเรียกทรัพย์สินนั้นคืนไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ที่

กฎหมายยอมให้ถอนคืนการ ให้ได้ คือ
1. ผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรง
2. ผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
3. ผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้ และผู้รับยังสามารถจะให้ความช่วยเหลือได้

---------------เสริมจ่ะ-------------------------
สำหรับในทางภาษีอากร โดยเฉพาะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การรับให้ซึ่ง เงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ใด ๆ ถือว่าผู้รับเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากการรับให้นั้น เว้นแต่กรณีต่อไปนี้
1. เป็นการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(10) แห่งประมวลรัษฎากร
2. การที่บิดามารดายกอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตนโดยไม่มีค่าตอบแทน แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม
---------------------------------------------
ให้โดยเสน่หาได้ แต่ก็ระวังเรื่องการเสียภาษีกันด้วยนะคะ....เดี๋ยวจะหาว่าไม่บอกกัน

2 ความคิดเห็น:

  1. เขียนได้ดี
    พยายามต่อไปนะครับ

    ตอบลบ
  2. ผสมผสานสิ่งที่น่าสนใจมาเล่าต่อ ทำให้มุมมองในเชิงกฎหมายขยายขอบเขตออกไปรอบด้านดีค่ะ

    ตอบลบ